คลังข้อมูลและศูนย์การเรียนรู้ทางพยาธิวิทยา

ภาควิชาพยาธิชีววิทยา

นวัตกรรมใหม่

ธิดารัตน์ คุ้มสังข์*, จักรพงศ์ สังโชติ, ชนภัทร นาคทับทิม, วิชชุดา พยุหกฤษ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยา 1% Hydrochloric acid ethanol ในการชะล้างสี Hematoxylin and eosin (H&E) ออกจากสไลด์เนื้อเยื่อหนูทดลอง โดยเตรียมตัวอย่างสไลด์เนื้อเยื่อทั้งหมด 12 ชนิด จากหนูแรท นำมาย้อมด้วยสี H&E และเก็บตัวอย่างสไลด์ไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงนำสไลด์นั้นไปชะล้างสี H&E ออกด้วยน้ำยา 1% Hydrochloric acid ethanol ที่เวลา 2, 4, 6, 8 และ 10 นาที จากนั้นถ่ายภาพที่กาลังขยาย 100 เท่า ในตาแหน่งที่มีลักษณะองค์ประกอบของเซลล์คล้ายกัน แล้วนำไปวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรม Fiji ImageJ เพื่อศึกษาปริมาณของสี H&E ที่หลงเหลืออยู่และคำนวณหาเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการชะล้างสี H&E ในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่าน้ำยาชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการชะล้างสี H&E ออกจากเนื้อเยื่อแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่น้ำยามีประสิทธิภาพดีที่สุดในการชะล้างสี H&E ได้แก่ เนื้อเยื่อกลุ่ม ผิวหนัง หัวใจ สมอง และอัณฑะ ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยในการชะล้างสี H&E ออกเพียง 2 นาที กลุ่มที่น้ายามีประสิทธิภาพระดับปานกลางในการชะล้างสี H&E ได้แก่ เนื้อเยื่อกลุ่ม ตับ ไต กระเพาะอาหาร และปอด ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยในการชะล้างสี H&E ออก 9.5 นาที และกลุ่มที่น้ำยามีประสิทธิภาพน้อยที่สุดในการชะล้างสี H&E ได้แก่ เนื้อเยื่อกลุ่ม ลำไส้เล็ก ม้าม รังไข่ และตับอ่อน ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยในการชะล้างสี H&E ออกมากกว่า 10 นาที ทั้งนี้ไม่พบว่าเนื้อเยื่อเกิดความเสียหายหรือหลุดลอกออกจากสไลด์จากการชะล้างสี H&E ด้วยน้ายาชนิดนี้ 1% Hydrochloric acid ethanol มีประโยชน์ในงานด้านจุลพยาธิชีววิทยาเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้นักวิจัยสามารถใช้สไลด์แผ่นเดิมในการย้อมสีชนิดอื่นเพื่อเพิ่มข้อมูลและเพิ่มความถูกต้องในการแปลผลทางจุลพยาธิชีววิทยาได้

 

 Web visitor 4,856 views
ช่องทางการติดต่อ
ที่อยู่ : ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 272 ถนน พระราม6 แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทร : 02 201 5550
อีเมล์ : Mahidol@Mahidol.ac.th