อาจารย์ พญ. พุทธางกูร ฤทธิ์ศรี
ภาวะ Long COVID หรือ Post-COVID เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยที่เคยได้รับการติดเชื้อไวรัส COVID-19
บางคนอาจมีอาการดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนอาการอาจแสดงนานเป็นเดือนหลังจากหายจากโรคแล้ว
ภาวะ Long COVID ไม่มีวิธีการวินิจฉัยที่แน่นอน เนื่องจากผู้ที่ประสบปัญหานี้ สามารถมีอาการแสดงได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว และภาวะต่างๆของร่างกายในช่วงที่เคยติดเชื้อมาก่อน
อาการแสดงของผู้ป่วยประสบปัญหาภาวะ Long COVID
อาการแสดงสามารถเป็นได้หลายแบบซึ่งจะสามารถอธิบายสั้นๆได้ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนจาก Long COVID
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- สมองล้า
- โรคนอนไม่หลับ
- ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ
- ภาวะ Guillain - Barre Symdrome
ใครบ้างที่เสี่ยงจะเกิดภาวะ Long COVID
- ผู้ที่เคยติดเชื้อรุ่นแรงมาก่อน อาจนอนโรงพยาบาล หรือมีภาวะปอดอักเสบ
- ผู้ที่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถุงลมโป่งพอง
- ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อ COVID-19
- ผู้ที่เคยมีภาวะ Multisystem inflammatory syndrome (MIS)
การดูแลตนเอง หลังมีภาวะ Long COVID
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
- ออกกำลังกายเบาๆ ไม่หักโหม
- ไม่เครียดและวิตกกังวล
- รับประทานยาตามอาการ
- ปรึกษาแพทย์ หากมีอาการ หอบเหนื่อยที่พักแล้วไม่ดีขึ้น ไอปนเลือด ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95%
วิธีป้องกันภาวะ Long COVID
ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ covid-19
ที่มา : https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects/index.html
ที่อยู่ | : ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 272 ถนน พระราม6 แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
เบอร์โทร | : 02 201 5550 |
อีเมล์ | : Mahidol@Mahidol.ac.th |